วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบร่างกายมนุษย์
            ในการศึกษาทางจิตวิทยา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมานั้นเป็นเพราะระบบการทำงานของร่างกาย
ระบบผิวหนัง


         

( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

            ทำหน้าที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนัง เช่น ขน ผม เล็บ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน
ระบบกล้ามเนื้อ
        

( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

              ทำหน้าที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว
ระบบโครงกระดูก

( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

              ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย
ระบบไหลเวียนโลหิต
            
( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
            ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
ระบบหายใจ
                 

( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

            ระบบหายใจ คือ ระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยร่างกายจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกเข้าสู่ร่างกาย และขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่ จมูก หลอดลม ปอด กล้ามเนื้อกระบังลมและกระดูกซี่โครง
ระบบประสาท


            

( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

            ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลังและระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และระบบประสาทอัตโนมัติ
ระบบย่อยอาหาร

           ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 

 ระบบขับถ่าย

( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)




           การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย


( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

 
           อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย
1. อัณฑะ (Testis) เป็นต่อมรูปไข่ มี 2 อัน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm)
2. ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ทำหน้าที่ห่อหุ้มลูกอัณฑะ
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) อยู่ด้านบนของอัณฑะ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ
4. หลอดนำตัวอสุจิ (Vas Deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ
6. ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ
7. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper Gland) อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไปเป็นกระเปาะเล็กๆ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

( ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)


           ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
1. รังไข่ ( Ovary ) มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์
1.1. ) ผลิตไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง
1.2 ) สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่
อีสโทรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง
2.
ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก

ปิยะพล   พรมทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น