พลังงานนิวเคลียร์
การระเบิดของพลังงานนิวเคลียร์ (แหล่งที่มา : ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต) |
พลังงานนิวเคลียร์
หมายถึง พลังงานไม่ว่าลักษณะใดๆก็ตาม ซึ่งเกิดจากนิวเคลียสอะตอมโดย
1. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น
(Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน
2. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น
(Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน
3. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ
ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น
4. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ
(Particle
Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น
ประวัติศาสตร์
ภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่สอง ที่อุบัติขึ้นในปีพุทธศักราช
2482
และสิ้นสุดลในปีพุทธศักราช
2488
นั้น ญี่ปุ่นได้รับความเสียหายอย่างมาก จากการที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้อาวุธแบบใหม่โจมตีญี่ปุ่น โดยทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกลงที่เมืองฮิโรชิมา ซึ่งเป็นฐานบัญชาการกองทัพบกของ ญี่ปุ่นทางตอนใต้
ประชาชนชาวญี่ปุ่นในเมืองดังกล่าวได้เสียชีวิตไป 80,000 คน
และในจำนวนเท่าๆ กันได้รับบาดเจ็บ ตึกรามบ้านช่องกว่า 60% ได้ถูกทำลายลง
ซึ่งรวมทั้งตึกที่ทำการของรัฐบาล ย่านธุรกิจ และย่านที่อยู่อาศัย และในอีกสามวันต่อมา
ระเบิดปรมาณูลูกที่สองก็ถูกทิ้งลงที่เมืองนางาซากิ ซึ่งเป็นเมืองท่าชายทะเลมีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก
ชาวญี่ปุ่นได้เสียชีวิตระหว่าง 35,000 ถึง 40,000 คน และได้รับบาดเจ็บในจำนวนที่ไล่เลี่ยกัน จากความเสียหายอย่างมหันต์ในคราวนั้น
ทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมเซ็นสัญญาสันติภาพ ซึ่งระบุให้จักรพรรดิและรัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ใต้การปกครองของผู้บัญชาการสูงสุด
ของทหารสัมพันธมิตร
อันตรายและความเสี่ยง
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นเวลานานอาจทำให้เนื้อเยื่อ บางส่วนของร่างกายเสียหาย หรือก่อให้เกิดมะเร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ อาทิเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว และยังทำให้ผู้ที่ได้รับมีความผิดปกติทางเซลล์พันธุกรรมเช่น สัตว์เกิดไม่มีแขน ไม่มีขา ไม่มีตา ไม่มีสมอง และยังทำลายคนที่ไม่รู้วิธีป้องกันป่วยลง แต่อันตรายจากรังสีในปัจจุบันที่ได้รับมากที่สุดคือ ถ่านไฟฉายแต่จะเป็นรังสีจากโคบอล 60 ซึ่งมีวิธีการคือ อย่าแกะสังกะสีออก และใช้แล้วควรทิ้งทันที โดยทั่วไปรังสีที่เจอเป็นอันดับ 2 คือ รังสีเอกซ์ตามโรงพยาบาลในห้องเอกซ์เรย์ ซึ่งจะมีป้ายเตือนไว้หน้าห้องแล้ว และไม่ควรที่จะเข้าใกล้มากนัก หากพบว่ามีวัตถุที่แผ่รังสี ควรที่จะหลีกไป
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นเวลานานอาจทำให้เนื้อเยื่อ บางส่วนของร่างกายเสียหาย หรือก่อให้เกิดมะเร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ อาทิเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว และยังทำให้ผู้ที่ได้รับมีความผิดปกติทางเซลล์พันธุกรรมเช่น สัตว์เกิดไม่มีแขน ไม่มีขา ไม่มีตา ไม่มีสมอง และยังทำลายคนที่ไม่รู้วิธีป้องกันป่วยลง แต่อันตรายจากรังสีในปัจจุบันที่ได้รับมากที่สุดคือ ถ่านไฟฉายแต่จะเป็นรังสีจากโคบอล 60 ซึ่งมีวิธีการคือ อย่าแกะสังกะสีออก และใช้แล้วควรทิ้งทันที โดยทั่วไปรังสีที่เจอเป็นอันดับ 2 คือ รังสีเอกซ์ตามโรงพยาบาลในห้องเอกซ์เรย์ ซึ่งจะมีป้ายเตือนไว้หน้าห้องแล้ว และไม่ควรที่จะเข้าใกล้มากนัก หากพบว่ามีวัตถุที่แผ่รังสี ควรที่จะหลีกไป
ปฏิกิริยานิวเคลียร์
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ คือปฏิกิริยาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนิวเคลียสของอะตอม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม หรือลดโปรตอน หรือนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม สามารถเกิดได้จาก
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน เป็นการแตกนิวเคลียสของอะตอมจากอะตอมของธาตุใหญ่ให้กลายเป็นอะตอมของธาตุเล็ก
2 อะตอม ซึ่งในกระบวนการนี้จะให้พลังงานออกมาด้วย
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน จะตรงข้ามกับฟิชชัน นั่นคือแทนที่จะแตกอะตอมของธาตุหนักให้เป็นธาตุเบา ก็จะกลายเป็นการรวมธาตุเบาสองอะตอมให้กลายเป็นอะตอมเดียวที่หนักขึ้น
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน จะตรงข้ามกับฟิชชัน นั่นคือแทนที่จะแตกอะตอมของธาตุหนักให้เป็นธาตุเบา ก็จะกลายเป็นการรวมธาตุเบาสองอะตอมให้กลายเป็นอะตอมเดียวที่หนักขึ้น
ความจำเป็นและเหตุผลรองรับในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
จากการศึกษาในต่างประเทศ
พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2393
เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
การบริโภคพลังงานของโลกเพิ่มขึ้นเพียง
4
เท่า ในช่วง พ.ศ. 2525
- 2533 ความต้องการบริโภคพลังงานเพิ่มขึ้น
24%
และจะเพิ่มขึ้นเป็น
50
- 70% ใน
พ.ศ. 2563
ถึงแม้จะมีความพยายามอย่างมากที่จะใช้พลังงานอย่างประหยัด
และมีประสิทธิภาพ
สำหรับประเทศไทยก็ตกอยู่ในภาวะเดียวกัน
คือ การบริโภคพลังงานของประชาชนมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไม่มีขีดจำกัด
ในขณะเดียวกันทิศทางการพัฒนาประเทศกำลังมุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม
พลังงานถือว่าเป็นปัจจัยที่จะเกื้อหนุน
ผลักดันอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจให้ก้าวไกลไปได้
พลังงานจะต้องมีราคาถูก
รวมทั้งมีใช้อย่างพอเพียง
มิฉะนั้นจะทำให้การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก
และนักลงทุนต่างชาติรวมทั้งในประเทศ
จะเลิกเชื่อถือรัฐบาลที่ไปเชิญชวนให้มาลงทุนแล้วไม่สร้างปัจจัยพื้นฐานไว้
รองรับ จึงมาถึงคำถามที่ว่า
ไทยมีพลังงานสำรองไว้ใช้ในอนาคตสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงพอหรือไม่
ในขณะที่ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นั้น ทางเลือกที่จำเป็นที่จะต้องกระทำ
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า
ในอนาคตไทยจะไม่ขาดแคลนพลังงาน
ก็คือ การหาแหล่งพลังงานใหม่เข้ามาสำรองแหล่งพลังงานที่กำลังจะหมดไป
สำหรับแหล่งพลังงานที่มองเห็นได้เด่นชัดซึ่งจะมีบทบาทอย่างมากที่จะเข้ามา
เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันถ่านหิน
และก๊าซธรรมชาติ
คือ พลังงานนิวเคลียร์
โดยจะนำมาใช้ในรูปของ
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เมื่อพิจารณาถึงทางเลือกในการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการ
ประกอบอุตสาหกรรมและอื่นๆ
นั้น จะเห็นว่า การผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนจะมีต้นทุนต่ำสุดแต่เมื่อครั้งใดที่รัฐบาลมีนโยบายที่
จะสร้างเขื่อนก็มักจะมีกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติออกมาต่อต้าน
จนโครงการหลายแห่งต้องยืดเวลาออกมา
หรือไม่ก็ล้มเลิกไป
ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินหรือน้ำมัน
ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูง
และเสี่ยงต่อความไร้เสถียรภาพด้านพลังงาน
เนื่องจากทั้งถ่านหินและน้ำมันจะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก
แม้จะมีแหล่งถ่านหินอยู่จำนวนหนึ่งแต่ก็สามารถใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าตามแผน
ได้อีกในระยะเวลาเพียง
10
ปี เท่านั้น จึงคาดกันว่าในทศวรรษหน้าการผลิตพลังงานของประเทศต้องเผชิญทางเลือกสามทาง
ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
คือ นำเข้าถ่านหิน, นำเข้าเทคโนโลยีนิวเคลียร์
หรือทั้งถ่านหินและเทคโนโลยีนิวเคลียร์
ศุภมิตร เบิกนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น