ความลับของอะตอม
ส่วนประกอบของอะตอม
(แหล่งที่มา ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
ในปัจจุบันอะตอมมีความสำคัญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การรวมตัวและการแตกสลายของอะตอมจะให้พลังงานจำนวนมากในรูปแสง เสียง และความร้อน เรานำพลังงานของความร้อนที่ได้จากอะตอมนี้ไปต้มน้ำ ได้ไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำและเครื่องจักรไอน้ำ และใช้เครื่องจักรไอน้ำหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ได้จะนำไปจ่ายสู่บุคลในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆต่อไป นอกจากจะใช้ความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์มาต้มน้ำ และหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแล้วยังใช้รังสีที่เกิดจากการแตกสลายของอะตอมมา รักษาโรคบางอย่าง เก็บถนอมอาหาร ผลิตสารไอโซโทป (radioactive isotopes) ขับ เคลื่อนเรือดำน้ำ และทำลูกระเบิดได้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า อะตอม มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ได้มองข้ามไป
ประวัติของอะตอม
คนที่คิดค้นพบอะตอมเป็นคนแรกคือ ดิโมคริตุส ซึ่งเขาได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอมว่ามีรูปร่างแตกต่างกัน ลักษณะเหมือนก้อนหิน รูปร่างเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของอะตอมและได้เสนอว่าอะตอมเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอะตอมไม่ใช่สิ่งที่เล็กที่สุดจึงได้มีการทดลองว่าอะตอมยังมีสสารอื่นๆ ภายในอะตอม เช่น โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาตร์ก็ยังใช่คำเดิมที่ ดิโมคริตุส ได้บัญญัติเอาไว้
ความหมายของอะตอม
อะตอม คือ สิ่งที่เล็กที่สุดในสสารที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก ประกอบด้วยส่วนของนิวเครียสที่มีความหน่าแน่นมากอยู่ตรงกลางซึ่งภายในอะตอมจะมีโปรตอน นิวตรอนและมีอิเล็กตรอนอยู่รอบๆ ซึ่งโปรตอนจะมีอนุภาคเป็นบวกทางไฟฟ้า นิวตรอนจะมีอนุภาคเป็นกลางทางไฟฟ้า และอิเล็กตรอนจะมีอนุภาคเป็นลบทางไฟฟ้า
โครงสร้างของอะตอม
ภายในอะตอมโปรตอนกับนิวตรอนที่ยึดเหนี่ยวภายในอะตอมสิ่งที่อยู่ภายในอะตอม เรียกว่า นิวเคลียส ที่มีขนาดเล็กและอะตอมก็มีพลังงานภายในตัว อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีโปรตอนเท่ากันเรียกตัวเลขนี้ว่าค่าไอโซโทปของธาตุ หมายเลขของอะตอมในธาตุชนิดหนี่งแต่อาจมีจำนวนอะตอมที่ต่างกันก็ได้ จำนวนโดยรวมของโปรตอนกับนิวตรอนเป็นตัวระบุนิวโดล์ นิวตรอนและโปรตอนต่างกันเป็นเพอร์มิออนแต่เป็นคนละชนิด ดังนั้นโปรตอนทุกตัวในนิวเคลียสจะต้องอยู่ในสถานะที่แตกต่างกันระดับพลังงานต่าง ๆ ของตัวเอง กฎเดียวกันนี้ยังใช้กับนิวตรอนทั้งหมดด้วย แต่ไม่ได้ให้โปรตอนและนิวตรอนอยู่ในสถานะเดียวกัน
โครงสร้างของอะตอม
(แหล่งที่มา ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
แบบจำลองอะตอม
แบบจำลองอะตอมเป็นภาพของความคิดที่แสดงให้เห็นรายละเอียดของโครงสร้างอะตอมที่สอดคล้องกับผลการทดลองและใช้่อธิบายปรากฎการณ์ของอะตอมได้
- แบบจำลองอะตอมของดอลตัน อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลมไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้
แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
(แหล่งที่มา ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
- แบบจำลองอะตอมทอมสัน อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม มีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนกระจัดกระจายอยู่สม่ำเสมอ
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
(แหล่งที่มา ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
- แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนและนิวตรอนอยู่ตรงกลาง และมีอิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบนอก
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
(แหล่งที่มา ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
- แบบจำลองอะตอมของนีสโบว์ อะตอมสามารถแบ่งเป็นชั้นพลังงานโดยที่แต่ละชั้นมีค่าระดับพลัังงานต่างกันอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกระดับพลังงาน
n = 1 ระดับพลังงานถัดไปเรียกระดับพลังงาน n =2, n =
3,... ตามลำดับ
หรือเรียกเป็นชั้น
K , L , M , N ,O , P , Q ....
แบบจำลองอะตอมของนีสโบว
(แหล่งที่มา ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
- แบบจำลองของอะตอมกลุ่มหมอก บริเวณที่มีความหนาแน่นของกลุ่มหมอกมากจะมีอิเล็กตรอนกระจัดกระจายอยู่มาก บริเวณที่มีความหนาแน่นของกลุ่มหมอกน้อยจะมีอิเล็กตรอนกระจัดกระจายอยู่น้อย
แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก
(แหล่งที่มา ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
อนุภาคมูลฐานของอะตอม
-อิเล็กตรอน(Electron) สัญลักษณ์e- มีแระจุลบและมีมวลน้อยมาก
-โปรตอน สัญลักษณ์ p+ มีประจุเป็นบวก และมีมวลมากกว่า อิเล็กตรอน (เกือบ 2,000
เท่า)
-นิวตรอน สัญลักษณ์ n มีประจุเป็นศูนย์ และมีมวลมากพอๆกับโปรตอน
หมายเหตุ อนุภาคนิวตรอน ค้นพบโดย เจมส์ แซควิก (James Chadwick) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ(พ.ศ.2475)
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียส
(แหล่งที่มา ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)
ประโยชน์ของอะตอม
การรวมตัวและการแตกสลายของอะตอมจะให้พลังงานจำนวนมากในรูปแสง
เสียง และความร้อน เรานำพลังงานของความร้อนที่ได้จากอะตอมนี้ไปต้มน้ำ
ได้ไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำและเครื่องจักรไอน้ำ
และใช้เครื่องจักรไอน้ำหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกทอดหนึ่ง
ณ ที่นี้จะพูดถึงเฉพาะเรื่องเตารวบรวมและควบคุมพลังงานความร้อน
ซึ่งเกิดจากการแตกสลายของอะตอม
เตาที่เผาเชื้อเพลิงปรมาณูยูเรเนียมนี้เรียกว่า
เตาปฏิกรณ์ปรมาณูโครงสร้างของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู
เป็นดังนี้คือ ภายนอกเป็นกำแพงคอนกรีตหนา
(๑)
เพื่อป้องกันการแผ่กัมมันตภาพรังสีออกมาเป็นอันตรายต่อคน
ชั้นในบรรจุแท่งเชื้อเพลิงยูเรเนียม(๒) หุ้มด้วยถ่านเกราไฟต์
(๓)
เรียงอยู่เป็นชั้นๆ ตัวควบคุมทำด้วยแท่งเหล็กชุบโบรอน
(๔)
เสียบอยู่เป็นระยะๆ
ในเตานี้ เพื่อให้ดูดกลืนนิวตรอนที่เกิดมาจากปฏิกิริยาลูกโซ่บ้าง
มิฉะนั้น ถ้ามีนิวตรอนมาก
จะได้พลังงานมากจนควบคุมไม่อยู่
แท่งเหล็กโบรอนนี้ปรับระยะที่แหย่เข้าไปในเตาได้
ถ้าแหย่ลึก มันจะดูดนิวตรอนมากไปตามระยะที่แหย่
ความร้อนที่ได้จากเตาปฏิมากรณ์ปรมาณูนี้
นำมาใช้ต้มน้ำได้
ตามรูปข้างบน คือ ใช้เครื่องเป่าก๊าซเข้าไปในเตา
เมื่อได้ก็าซร้อนออกมาตามท่อไปเข้าเครื่องต้มน้ำจนกลายเป็นไอน้ำออกไปหมุน
กังหัน กังหันหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว
จะได้พลังงานไฟฟ้าออกมา
นอกจากจะใช้ความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์มาต้มน้ำ
และหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแล้วยังใช้รังสีที่เกิดจากการแตกสลายของอะตอมมา
รักษาโรคบางอย่าง
เก็บถนอมอาหาร ผลิตสารไอโซโทป
(radioactive
isotopes) ขับเคลื่อนเรือดำน้ำ
และทำลูกระเบิดได้
วรุตม์ แม้นมณี
กิตติยา สายรัตน์